ประวัติศาสตร์พัฒนาการของ
“ส้วม” ไทย
การศึกษาประวัติศาสตร์ไทยในอดีตนั้นเน้นไปที่การศึกษาสภาพเศรษฐกิจ
สังคม และการเมือง เป็นสำคัญ
หากแต่ในปัจจุบันมีการศึกษาถึงประวัติศาสตร์ของปัจเจกชน วิถีชีวิต
หรือสิ่งของเครื่องใช้ในปัจจุบันว่ามีความเป็นมาอย่างไร
สิ่งเหล่านี้ทำให้ประวัติศาสตร์มีความละเอียดมากขึ้น
เป็นหลักฐานเชื่อมโยงไปยังประวัติศาสตร์ไทยอื่นๆ
และยังมีความน่าสนใจเร้าอารมณ์ผู้อ่านได้เป็นอย่างดี
จึงขอหยิบยกเรื่องราวทางประวัติศาสตร์ที่น่าสนใจอย่างยิ่งเป็นสิ่งของเครื่องใช้ที่อยู่คู่กับวิถีชีวิตคนไทยมาช้านาน
แม้กระทั่งในปัจจุบันทุกคนยังจำเป็นต้องใช้และทุกบ้านจำเป็นต้องมีไม่ว่าเด็กหรือผู้ใหญ่
ผู้หญิงหรือผู้ชาย เจ้านายหรือลูกน้อง ฯลฯ ทุกคน ขอย้ำ
ทุกคนจำเป็นต้องใช้เพื่อคลายทุกข์เพิ่มสุขให้กับชีวิต สิ่งนี้คือ “ส้วม” หรือ สุขา
จึงมีความสนใจเป็นอย่างมากที่จะสืบค้นข้อมูลทางประวัติศาสตร์และความเป็นมาของส้วมในประเทศไทยซึ่งมีจุดเริ่มต้นในสมัยรัชการที่5
ได้มีพระราชกำหนดสุขาภิบาลกรุงเทพฯ ร.ศ.116 (พ.ศ.2440)
เกิดขึ้นครั้งแรกในประเทศไทยทำให้มีการคิดผลิตส้วมและวิวัฒนาการมาจนเป็นส้วมในปัจจุบัน
ส้วมในสมัยสุโขทัย
ในพุทธศาสนา
การที่พระสงฆ์ต้องมาอยู่รวมกันเป็นจำนวนมากภายในวัด
ปัญหาเรื่องการจัดการกับการขับถ่ายและการชำระร่างกายเป็นสิ่งสำคัญ
เพราะถ้าเกิดกลิ่นเหม็นและสกปรกขึ้นย่อมเป็นอุปสรรคต่อการปฏิบัติธรรมและไม่เป็นตัวอย่างอันดีให้กับฆราวาส
พระสงฆ์แบบลังกามีจริยวัตรที่งดงาม ใช้ชีวิตสมถะที่เรียบง่าย
มีภิกษุสุโขทัยและหัวเมืองอื่นๆที่ได้ไปลังกาทวีปเพื่อศึกษาพระธรรมวินัย
ความรู้ทางพุทธศาสนาจากลังกาจึงได้รับแบบอย่างการใช้ชีวิตในเพศบรรพชิตมาจากลังกาด้วย
ตัวอย่างหนึ่งของการรับวัฒนธรรมแบบลังกาที่น่าสนใจคือ “ส้วมสุโขทัย” ซึ่งจะได้กล่าวถึงวัตรปฏิบัติของพระในเรื่องการขับถ่ายไปด้วย
แม้จะมีข้อปฏิบัติในพระวินัยแต่การขับถ่ายของพระก็มีการปรับให้เข้ากับสภาพสังคมและท้องถิ่น
ส้วมสุโขทัย เมื่อประมาณสี่สิบกว่าปีก่อน
ทางกรมศิลปากรได้ค้นพบแผ่นหินแผ่นหนึ่งที่จังหวัดสุโขทัย ซึ่งมีรูปร่างคล้ายโม่
มีรูตรงกลาง มีรอยเท้าและรางน้ำยื่นออกมา ซึ่งได้สันนิฐานว่าเป็นส้วม
เมื่อมีการจัดสัมมนาโบราณคดีสมัยสุโขทัยขึ้นในปี พ.ศ.2503 ได้มีข้อถกเถียงในวงวิชาการเกี่ยวกับแผ่นหินดังกล่าว
โดยมีผู้ที่คิดว่าเป็นส้วมและอีกฝ่ายหนึ่งคิดว่าเป็นฐานของ ศิวลึงค์-โยนี
เอกสารข้อโต้แย้งดังกล่าวเท่าที่ค้นพบมีอยู่ไม่มากนัก
แต่มีการแสดงความคิดเห็นกันเป็นช่วงเวลาที่นานพอสมควร
ทั้งทางด้านเกี่ยวกับความเป็นไปได้ทางสรีระที่จะเป็นอุปสรรคในการขับถ่าย
ความเชื่อในสังคมสุโขทัยเกี่ยวกับวัตถุบูชาของศาสนาพราหมณ์-ฮินดู
และการเปรียบเทียบแบบส้วมของลังกากับไทย
จึงพบว่าส้วมแบบสุโขทัยนั้นเข้ามาพร้อมกับพระพุทธศาสนาที่รับมาจากลังกา
แผ่นหินปิดหลุมส้วมพบที่เมืองเก่า
สุโขทัย
แผ่นหินปิดหลุมส้วม
ได้จากการขุดแต่งเมืองเก่าสุโขทัย
ส้วมในสมัยอยุธยา
วิวัฒนาการของส้วมในไทยมาเรื่อย
ๆ โดยเฉพาะกับบุคคลชั้นสูง
โดยเฉพาะกษัตริย์หรือเจ้านายที่มีอภิสิทธิ์ในการสร้างที่ขับถ่ายในที่พักอาศัย
ราษฎรทั่วไปไม่อาจทำได้ โดยอาจกั้นห้องเป็นสัดส่วน มีศัพท์เฉพาะเรียกว่า
ที่ลงบังคน หรือ ห้องบังคน เพราะเรียกอุจจาระของเจ้านายว่า บังคน เช่นกัน
เจ้านายจะขับถ่ายลงในภาชนะรองรับ จะมีคนคอยปรนนิบัติรับใช้นำไปทิ้ง
ส่วนสถานที่ของส้วมหรือสถานที่ลงพระบังคน น่าที่จะอยู่ห่างจากพระราชมนเทียรพอสมควร
เพื่อป้องกันกลิ่นรบกวน
ลาลูแบร์
ราชทูตฝรั่งเศสในสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช เขียนเล่าไว้เมื่อปี พ.ศ. 2231 ว่า "ในประเทศสยามถือกันว่าเป็นหน้าที่ที่มีเกียรติมาก
ถ้าบุคคลใดได้รับแต่งตั้งให้มีหน้าที่เทโถพระบังคล ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
ซึ่งจะต้องนำไปเทลง ณ สถานที่อันกำหนดไว้เพื่อการนี้
และมียามเฝ้าระวังรักษาอย่างกวดขัน มิให้ผู้ใดอื่นกล้ำกรายเข้าไปได้
อาจเป็นเพราะความเชื่อถือโชคลางทางไสยศาสตร์
ซึ่งชาวสยามเชื่อว่าอาจมีผู้ทำกฤตยาคุณได้จากสิ่งปฏิกูลที่ถ่ายออกมาจากร่างกายนั้น"
สำหรับพระสงฆ์แล้วในพระธรรมวินัยกำหนดไว้ว่าจะต้องมีสถานที่ขับถ่ายโดยเฉพาะเช่นกัน
เรียกว่า เวจ, เวจกุฎี (อ่านว่า เว็ดจะกุดี) หรือ
วัจกุฎี (อ่านว่า วัดจะกุดี)
โดยมีลักษณะเป็นหลุมถ่ายก่ออิฐหรือหินหรือไม้กรุเพื่อไม่ให้ขอบหลุมพัง
มีเขียงแผ่นหินหรือแผ่นไม้รอง ปิดทับหลุม เจาะรูตรงกลางสำหรับถ่ายอุจจาระ
หรืออาจมีฝาทำจากไม้ อิฐ หรือหิน ในบางแห่งมีล้อมเป็นผนังให้มิดชิด
นอกจากนี้ยังมีคำว่าถาน ใช้เรียกส้วมของภิกษุสามเณร
โดยถานสมัยโบราณเป็นโรงเรือนแยกออกไปต่างหาก
ส่วนใหญ่จะอยู่ท้ายวัดจะได้ไม่ส่งกลิ่นเหม็นมารบกวน
ลักษณะโรงเรือนจะมีใต้ถุนสูงโปร่ง ถ่ายเทอากาศได้สะดวก ด้านบนมีฝามิดชิด
ข้างบนฝามีช่องระบายอากาศและช่องแสง มีประตูปิด-เปิด พื้นปูด้วยไม้หรือเทปูน
มีร่องสำหรับถ่ายอุจจาระ มีเขียงรองเท้าสองข้าง มีรางน้ำปัสสาวะยื่นออกไปนอกฝา
มีไม้ซีกเล็ก ๆ มัดรวมกันวางไว้ข้าง ๆ สำหรับเช็ดเมื่อเสร็จกิจ
ในถิ่นที่หาน้ำได้ง่ายก็ชำระด้วยน้ำที่ใส่ภาชนะเช่นตุ่มเล็ก ๆ เตรียมไว้แล้ว
จะเห็นได้ว่าส้วมในสมัยอยุธยานั้น
มีความคล้ายคลึงกับสมัยสุโขทัยเป็นอย่างมาก เพราะอยุธยานั้นก็รับวัฒนธรรม
วิถีชีวิต ความเป็นอยู่ และผู้คนที่อพยพมาจากสุโขทัย จึงรับเอาวัฒนธรรมเกี่ยวกับการขับถ่ายของสุโขทัยมาด้วย
ส้วมในสมัยรัตนโกสินทร์
ในเขตพระมหามณเฑียร
ในพระราชพงศาวดาร ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช
ได้กล่าวถึงที่ลงพระบังคนว่า "ด้วยแต่เดิมหาได้ลงพระบังคน
บนพระมหามณเฑียรเหมือนทุกวันนี้ไม่ ต่อเวลาค่อนย่ำรุ่ง ยังไม่สว่าง
เสด็จไปที่ห้องพระบังคนหลังพระมหามณเฑียร"
ทั้งนี้เป็นการค่อนข้างอันตรายหากจะเสด็จออกนอกพระมหามณเฑียรเพื่อลงพระบังคน
ด้วยมีเหตุที่เคยมีคนร้ายจะลอบปลงพระชนม์
นับแต่นั้นมาจึงโปรดให้ทำที่ลงพระบังคนให้ปลอดภัยกว่าเดิมซึ่งก็น่าจะอยู่ภายในพระราชมณเฑียร
ในสมัยรัชกาลที่ 2
ที่ลงพระบังคนที่พระตำหนักเดิมที่อัมพวา
มีลักษณะเป็นหีบสี่เหลี่ยมหรือเก้าอี้ทรงสี่เหลี่ยมทึบ ทำด้วยไม้
ด้านบนเจาะเป็นช่องให้นั่งถ่าย ข้างในเป็นที่ว่างและสามารถเปิดด้านข้างได้
เพื่อเอากระโถนหรือกระทงใหญ่ ๆ ที่วางไว้ข้างใน ออกมานำไปเททิ้ง
ที่ลงพระบังคนชนิดนี้สามารถทำความสะอาดได้ง่ายและจะมีพนักงานเชิญลงไปทิ้งในน้ำ
สำหรับพระบรมมหาราชวังนั้นมีการสันนิษฐานตำแหน่งของที่ลงพระบังคน
จากบทความ "ที่ลงพระบังคน" เขียนโดยจุลลดา ภักดีภูมินทร์
ในนิตยสารสกุลไทย กล่าวว่า "ไม่เคยพบว่ามีหนังสือเล่มใดเขียนถึงที่ลงพระบังคน
เป็นเพียงการเล่ากันต่อ ๆ มาว่า มีห้องเล็ก ๆ ข้างหลังพระที่นั่งจักรพรรดิพิมานมีไว้สำหรับพระเจ้าแผ่นดินเสด็จทรงลงพระบังคนซึ่งห้องสรงก็คงจะอยู่ใกล้
ๆ กันนั้น" เมื่อทรงลงพระบังคนแล้ว ก็จะมีพนักงานนำไปจำเริญ ซึ่งต่อมา
โถลงพระบังคนของพระเจ้าแผ่นดินมักทำจากของมีค่า จะนำออกไปน่าจะมีปัญหา
ภายหลังจึงโปรดให้พนักงานเตรียมทำกระทงไว้วันละ 3 ใบ เมื่อเสร็จพระราชกิจแล้ว
เจ้าพนักงานเพียงเชิญกระทงไปจำเริญโดยวิธีลอยน้ำ
ต่อมาลักษณะและวัสดุของโถลงพระบังคนที่เปลี่ยนแปลงไป
จากการเข้ามาของวัฒนธรรมตะวันตก
ลักษณะและวัสดุของโถลงพระบังคนที่เปลี่ยนแปลงไปจากที่เคยทำด้วยทอง กะไหล่ทอง
ทองคำลงยา ก็เปลี่ยนเป็นทำด้วยโถกระเบื้องเคลือบชนิดหนา
ลักษณะเป็นโถปากกว้างมีหูจับ มีทั้งชนิดเคลือบสีธรรมดาและอาจมีลวดลายสวยงามต่าง ๆ
เช่น ลายดอกไม้เล็ก ๆ เจ้านายบางพระองค์จะสั่งภาชนะ ที่เกี่ยวกับการสรงพระพักตร์
ล้างพระหัตถ์และถ่ายพระบังคน มาเป็นชุดเดียวกันและต่อมาในรัชสมัยรัชกาลที่ 5
โปรดให้สร้างพระราชวังดุสิตขึ้นนั้น ก็ทรงใช้วัฒนธรรมการขับถ่ายตามแบบยุโรป คือ
ใช้ส้วมชักโครก
แบบจำลองที่ลงพระบังคน ในสมัย
รัชกาลที่2
ส้วมในสมัยรัชกาลที่
5
ในสมัยรัชกาลที่ 4
ถึงรัชกาลที่ 5
สยามเริ่มมีพลเมืองมากขึ้น การค้าเศรษฐกิจเจริญเติบโตตามจำนวนประชากร
อีกทั้งยังเปิดรับวัฒนธรรมตะวันตกที่เข้ามา
ในยุคนั้นประชาชนทั่วไปก็ยังไม่นิยมสร้างส้วมในที่อาศัยของตนเอง
แต่จะขับถ่ายนอกสถานที่ตามตรอกซอกซอย ถนนหนทาง ริมกำแพงวัด หรือริมน้ำคูคลองต่าง ๆ
เกลื่อนกลาดไปด้วยกองอุจจาระ เป็นสิ่งไม่น่าดู ทั้งยังส่งกลิ่นเหม็นรุนแรง
และเป็นสาเหตุของโรคระบาดตามมา
อีกทั้งเวจหรือถานพระที่มีอยู่ตามวัด
ก็ปลูกสร้างแบบปล่อยอุจจาระทิ้งลงน้ำบ้างหรือปล่อยทิ้งลงพื้นเรี่ยราด
เป็นเหตุให้มีทั้งสัตว์มาคุ้ยเขี่ยและแมลงวันไต่ตอม จนในปี พ.ศ. 2440 หรือปลายสมัยรัชกาลที่
5 รัฐโดยกรมสุขาภิบาลซึ่งก่อตั้งในปีเดียวกันนั้น
กรมสุขาภิบาลจัดสร้างส้วมสาธารณะที่กั้นแบ่งเป็นห้อง
ๆ มีห้องประมาณ 5-6 ห้อง เป็นห้องแถวไม้ยาว
มักตั้งอยู่บนถนนสายสำคัญซึ่งเป็นย่านการค้าที่มีผู้คนอยู่คับคั่ง เช่น ถนนเจริญกรุง
ถนนบำรุงเมือง
ถนนเฟื่องนคร
และตามชุมชนวัด ทั้งบริเวณรอบวัด เช่น บริเวณหน้าวัดบรมธาตุ ข้างวัดกำโลยี่
ตรอกข้างวัดมหรรณ์
หรืออยู่ในวัด เช่น วัดบวรนิเวศ
วัดราชบูรณะ
นอกจากนี้ยังมีการจัดส้วมสาธารณะจำนวนมากใกล้กับบริเวณวังของเจ้านายและตามสถานที่ราชการ
อย่างเช่น โรงพัก
โรงพยาบาล
เป็นต้น
ลักษณะส้วมสาธารณะในยุคแรกเป็นส้วมถังเท
มีอาคารปลูกสร้างครอบไว้ ภายในมีฐานส้วมทำจากไม้ เจาะรูสำหรับนั่งขับถ่าย
ข้างใต้มีถังสำหรับรองรับอุจจาระ ซึ่งจะมีบริษัทที่ได้รับสัมปทานจากรัฐอย่าง
"บริษัทสอาด" หรือ "บริษัทออนเหวง"
เป็นผู้ทำหน้าที่จัดการเก็บและบรรทุกถังบรรจุอุจจาระและเปลี่ยนถ่ายถังใหม่ทุกวัน
รัฐมีนโยบายจะเปลี่ยนพฤติกรรมการขับถ่ายของประชาชนโดยการสร้างเวจหรือส้วมสาธารณะในรูปแบบของส้วมแบบถังเทในเขตเมืองและในรูปแบบของส้วมหลุมในเขตท้องถิ่น
และออกกฎหมายบังคับและมีบทบัญญัติลงโทษผู้ฝ่าฝืน
ทำให้คนเมืองหลวงรู้วิธีการใช้ส้วมและเห็นความสำคัญ
จนเริ่มมีผู้สร้างส้วมไว้ในบ้านตนเองภายในช่วงระยะประมาณ 10 ปี หลังการออกกฎหมาย
ประดิษฐ์โดยนายอินทร์ บุญสะอาด
ผู้ตรวจการสุขาภิบาลประจำอำเภอท่าเรือ จังหวัดพระนครศรีอยุธยา ประมาณ พ.ศ. ๒๔๗๔
|
ภาพส้วมถังเท
ก.ช่องถ่ายอุจจาระ
ข.ถังใส่อุจจาระ
ค.แผ่นปิดกันแมลง
ที่มา : การพัฒนา อนามัยท้องถิ่น
สี่ทศวรรษของการพัฒนาส้วมไทย
(กรุงเทพมหานคร : กองสุขาภิบาล
กรมอนามัย, 2530), น.97
ส้วมในสมัยปัจจุบัน
ในระยะแรกที่ส้วมชักโครกเข้ามาในประเทศไทย
คือช่วงระหว่างปี พ.ศ. 2460-2490
ส้วมชักโครกคงมีเฉพาะตามวังและบ้านเรือนของผู้มีฐานะดีที่จบการศึกษาหรือเคยใช้ชีวิตในต่างประเทศ
ไม่ค่อยแพร่หลายสู่คนทั่วไป ต่อมาเริ่มมีผู้ใช้ส้วมชักโครกมากขึ้นในช่วงที่มีการก่อสร้างบ้านแบบสมัยใหม่หลังสงครามโลกครั้งที่ 2
กระทั่งต้นทศวรรษ 2500 โถส้วมชนิดนี้ก็ได้รับความนิยมและมีผู้ใช้เพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ
ประเทศไทยก็มีการส่งเสริมให้ประชาชนสร้างส้วมราดน้ำหรือส้วมคอห่านใช้ในบ้านอย่างจริงจังตั้งแต่ปี
2485 เป็นต้นมา และรัฐบาลโดยความร่วมมือจากองค์การยูซ่อมของรัฐบาลสหรัฐอเมริกาในปี
2503 โดยเริ่มโครงการพัฒนาการอนามัยท้องถิ่น
มีกิจกรรมสำคัญคือการสร้างส้วมและรณรงค์ให้ประชาชนถ่ายอุจจาระในส้วมจนถึงแผนพัฒนาสาธารณสุขฉบับที่
6 (พ.ศ. 2530-2534) ในปี 2532
กระทรวงสาธารณสุขดำเนินงานให้ประชาชนในประเทศไทยมีส้วมถูกหลักสุขาภิบาลในทุกครัวเรือน
ในปีนี้ครอบคลุมจาก ร้อยละ 75 เป็นร้อยละ 90 และจากผลสำรวจในปี พ.ศ. 2542
มีส้วมถูกหลักสุขาภิบาลครอบคลุมครัวเรือนร้อยละ 98.1
โดยพระยานครพระราม (สวัสดิ์ มหากายี) อดีตสมุหเทศาภิบาล
ผู้สำเร็จราชการมณฑลพิษณุโลก เป็นผู้ประดิษฐ์ ส้วมคอหงษ์ หรือ คอห่าน เมื่อปี พ.ศ. ๒๔๖๗
ขณะดำรงตำแหน่งผู้ว่าราชการจังหวัดสวรรคโลกและจังหวัดอุตรดิตถ์
ซึ่งเป็นช่วงเวลาที่รัฐบาลร่วมมือกับมูลนิธิร็อกกี้เฟลเลอร์ทำโครงการปราบโรคพยาธิปากขอ
และรณรงค์ให้ราษฎรทั่วประเทศใช้ส้วม
ขุนนางชาวอังกฤษชื่อ เซอร์จอห์น
แฮริงตัน เป็นผู้คิดค้นประดิษฐ์ส้วมชักโครกรุ่นแรกขึ้นเมื่อปี ค.ศ. ๑๕๙๖ (พ.ศ.
๒๑๓๙) โดยมีถังพักน้ำติดตั้งสูงเหนือโถส้วม เมื่อกดชักโครกแล้ว
ของเสียจะถูกส่งผ่านท่อไปยังถังเก็บ
กระทั่งปี ค.ศ. ๑๗๗๕ อเล็กซานเดอร์ คัมมิงส์ ได้พัฒนาส้วมชักโครกให้สามารถทำงานได้ดีขึ้น โดยการดัดท่อระบายของเสียลงบ่อเกรอะเป็นรูปตัวยู จึงสามารถกักน้ำไว้ในท่อ เป็นตัวกันกลิ่นของเสียไม่ให้ย้อนขึ้นมาได้ นับเป็นต้นแบบของชักโครกที่ใช้งานในปัจจุบัน
กระทั่งปี ค.ศ. ๑๗๗๕ อเล็กซานเดอร์ คัมมิงส์ ได้พัฒนาส้วมชักโครกให้สามารถทำงานได้ดีขึ้น โดยการดัดท่อระบายของเสียลงบ่อเกรอะเป็นรูปตัวยู จึงสามารถกักน้ำไว้ในท่อ เป็นตัวกันกลิ่นของเสียไม่ให้ย้อนขึ้นมาได้ นับเป็นต้นแบบของชักโครกที่ใช้งานในปัจจุบัน
ส้วมชักโครก
สรุป
ในสมัยสุโขทัยมีพระภิกษุไปลังกาทวีปเพื่อศึกษาพระธรรมวินัยที่ลังกาทวีปในยุคนั้นจึงได้รับแบบอย่างการใช้ส้วมมาจากลังกาด้วย
ส้วมแบบสุโขทัยนั้นเข้าจึงได้เข้ามาพร้อมกับพระพุทธศาสนาส่วนส้วมในสมัยอยุธยานั้น
มีความคล้ายคลึงกับสมัยสุโขทัยเป็นอย่างมาก เพราะอยุธยานั้นก็รับวัฒนธรรม
วิถีชีวิต ความเป็นอยู่ และผู้คนที่อพยพมาจากสุโขทัย
จึงรับเอาวัฒนธรรมเกี่ยวกับการขับถ่ายของสุโขทัยมาด้วย ส้วมในสมัยรัชกาลที่ 5
พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงตั้งกรมสุขาภิบาลขึ้นในปี
พ.ศ. 2440 หรือปลายสมัยรัชกาลที่ 5 โดยกรมสุขาภิบาลซึ่งเป็นลักษณะส้วมสาธารณะในยุคแรกเป็นส้วมถังเท
มีอาคารปลูกสร้างครอบไว้ ภายในมีฐานส้วมทำจากไม้ เจาะรูสำหรับนั่งขับถ่าย
ข้างใต้มีถังสำหรับรองรับอุจจาระ ซึ่งจะมีบริษัทที่ได้รับสัมปทานจากรัฐอย่าง
"บริษัทสะอาด" หรือ "บริษัทออนเหวง" เป็นผู้ทำหน้าที่จัดการเก็บและบรรทุกถังบรรจุอุจจาระและเปลี่ยนถ่ายถังใหม่ทุกวันในสมัย ปัจจุบันประเทศไทยก็มีการส่งเสริมให้ประชาชนสร้างส้วมราดน้ำหรือส้วมคอห่านใช้ในบ้านอย่างจริงจังตั้งแต่ปี
2485 เป็นต้นมา และรัฐบาลโดยความร่วมมือจากองค์การยูซ่อมของรัฐบาลสหรัฐอเมริกาในปี
2503 โดยเริ่มโครงการพัฒนาการอนามัยท้องถิ่น
มีกิจกรรมสำคัญคือการสร้างส้วมและรณรงค์ให้ประชาชนถ่ายอุจจาระในส้วมจนถึงแผนพัฒนาสาธารณสุขฉบับที่
6 (พ.ศ. 2530-2534) ในปี 2532
กระทรวงสาธารณสุขดำเนินงานให้ประชาชนในประเทศไทยมีส้วมถูกหลักสุขาภิบาลในทุกครัวเรือน
ในปีนี้ครอบคลุมจาก ร้อยละ 75 เป็นร้อยละ 90 และจากผลสำรวจในปี พ.ศ. 2542
มีส้วมถูกหลักสุขาภิบาลครอบคลุมครัวเรือนร้อยละ 98.1
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น